ต้นกำเนิดฮวงจุ้ย

Last updated: 5 เม.ย 2559  |  4081 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ต้นกำเนิดฮวงจุ้ย

เสี่ยงทายก่อนอยู่ ฤกษ์ทำการ คือ ประเพณีความเคยชินขิงชาวหัวเซี่ย (บรรพบุรุทชาวจีน) มาแต่โบราณ เล่ากันว่า 3,000 ปีที่แล้ว ก่อนราชวงศ์ซี่โจวสร้างชาติ บรรพบุรุษชาวโจวเลือกที่สร้างบ้านแปงเมืองด้วยความระมัดระวัง โดยใช้กระดองเต่าเสี่ยงทายก่อนเสมอ จึงมีสำนวน ตกทอดมาว่า เสี่ยงทายก่อนอยู่ ซึ่งภาษาจีนใช้คำสั้นๆว่า ปู่จวี ผ่านการอพยพเคลื่อนย้ายมิได้หยุด ชาวโจวมาถึงบริเวณทุ่งหญ้าตีนเขาฉีซาน ผลการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่าบ่งบอกว่า เหมาะที่จะปักหลัก อีกทั้งจักนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง บรรพบุรุษชาวโจวจึงตั้งรกรากที่ตีนเขาฉีซาน นี่กระมังคือต้นกำเนินสิ่งที่เรียกว่า ฮวงจุ้ย เรืองหยาง วิธีเลือกสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับ คนเป็น

            ในคัมภีร์ซั่งซู บทลั่วเก้า มีบันทึกว่า โจวกง จีตั้น เคยตรวจภูมิประเทศวางฝังเมือง เขียนภาพกำแพงและคูเมืองที่ลั่วอี้ เพราะเหตุนี้เอง นักภูมิพยากรณ์รุ่นหลังจึงยกย่องจีตั้น เป็นปฐมาจารย์แห่งศาสตร์ฮวงจุ้ย คำว่า ฮวงจุ้ยนี้ แรกเริ่มเดิมทีพบในคัมภีร์ฝังศพ รจนาโดยกัวผู (ค.ศ.276 -324) สมัยราชวงศ์จิ้นซึ่งมีความว่า ฝังศพ ต้องรับปราณกำเนิด ปราณเจอลม (ฮวง หรือ เฟิง ) พัดก็ กระจายครั้งได้น้ำ ( จุ้ย หรือ สุ่ย) สกัดก็หยุด คนโบราณใช้วิธี รวม เพื่อมิให้กระจาย และใช้น้ำสกัด เพื่อให้หยุด จึงเรียกกันว่า ฮวงจุ้ย (เฟิงสุ่ย-ลมและน้ำ) สิ่งที่คนโบราณเรียกว่า ปราณ (ขี่ หรือชี่ )ก็คือพลังงานธรรมชาติ ซึ่งถ้าเป็นศัพท์วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ก็คือ พลังงานสนามแม่เหล็ก หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า พลังงานจักรวาล เพราะฉะนั้น ศาสตร์ฮวงจุ้ย พบได้ในคัมภีร์โจวหลี่ ซึ่งสวี่เซิ่น อธิบายไว้ในคัมภีร์ซันเหวินว่า คัน วิถีแห่งฟ้า หวี วิถีแห่งดินเพราะฉะนั้น คำว่า คันหวี จึงหมายถึงวิธีพยากรณ์ฟ้าดิน ต่อมาคนสมัยโบราณอาศัยข้อความในคัมภีร์โจวอี้ บทจี้ฉือ ที่ว่า แหงนหน้าสังเกตปรากฏการณ์ดวงดาว ก้มหน้าตรวจสอบภูมิประเทศ ศาสตร์พยากรณ์ฟ้า ดินฮวงจุ้ย จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า ตี่ลี่ หรือ ตี้หลี่ ภูมิศาสตร์ หรือจะเรียกว่า ชัยภูมิศาสตร์ก็ได้

            คนโบราณตอบสนองต่อวิถีแห่งฟ้าดิน โดยยึดมั่นในทัศนะทางปรัชญาที่ว่า ฟ้า และมนุษย์รวมเป็นหนึ่ง และรวมเป็นหนึ่งเดียวกับฟ้าดิน มนุษย์มีชีวิตและเจริญเติบโตอยู่ระหว่างฟ้ากับดิน ฟ้าดินก็คือภาพขยายของร่างมนุษย์ส่วนมนุษย์ก็คือภาพย่อของฟ้าดิน ดังที่ร่างมนุษย์มีเส้นลมปราณ และตำแหน่งจุด มหาพิภพย่อมมีเส้นมังกร และตาจุด เช่นกัน ในคัมภีร์วิธีฝังศพ มีความตอนหนึ่งว่า นี่คือการแสวงเส้นมังกร ตำแหน่ง จับจุด ให้กับผู้ตาย เพื่อปกป้องคุ้มครองลูกหลาน โดยที่ตำแหน่งจับจุด นั้นต้องเก็บลมรวมปราณ เพื่อมิให้ปราณกระจายไปตามลม ซึ่งแน่นอน ว่าต้องมีน้ำกั้นแดนด้วย จึงจะบรรลุเป้าหมายรวมปราณ

            ฮวงจุ้ยนั้น พูดได้ว่าคือเลขศาสตร์แขวงหนึ่งที่ค้นคว้า วิจัย ปราณกำเนิด หรือ ปราณเจริญรุ่งเรือง ซึ่งก็คือปัจจัยสำคัญของสรรพชีวิตใน จักรวาล หรือปราณ (พลังงานจักรวาล) ที่ทำให้สรรพชีวิตตลอดถึงการค้าเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่า ได้น้ำ หรือ เก็บลม ล้วนมีเป้าหมายอยู่ที่ รวมปราณเพราะฉะนั้น สิ่งที่ศาสตร์ฮวงจุ้ยแสวงหาก็คือ เก็บลมรวมปราณ ปราณรวมมีน้ำใจ เมื่อ ปราณรวมมีน้ำใจ ย่อยเป็นมงคล และรุ่งเรือง เมื่อเป็นมงคลและรุ่งเรือง ย่อมสูงศักดิ์ มีความสุขความเจริญ มีโชคลาภ และมีลูกหลานเต็มบ้านเต็ม เมือง ในทางตรงข้าม ปราณกระจายไร้น้ำใจ ย่อมเสื่อมโทรม หายนะ หมดโชค เสียลาภ ประสบภัย โรคร้านเบียดเบียน  แล้วทำอย่างไรจึงจะรวมปราณได้  โดยทั่วไปนั้น ภูโอบย่อมเก็บลม เก็บลมย่อมรวมปราณ ยิ่งถ้ามีน้ำอุ้มด้วย ก็จะหยุดปราณ เพราะ มีน้ำสกัด ปราณจึงหยุด สภาพแวดล้อมบนมหาพิภพแบบขุนเขาลำน้ำที่มี ภูโอบน้ำอุ้ม จึงเป็นที่มงคล เก็บลมรวมปราณ โดยสรุป ศาสตร์ คือ ผลึกภูมิปัญญา ซึ่งได้มาจากประสบการณ์ ชีวิตอันอุดมที่สั่งสมรวมรวม และสรุปขึ้นมาบนพื้นฐานทฤษฎีอัฎฐรหัสลักษณ์ อินหยางและเบญจธาตุในคัมภีร์อี้จิง (ศาสตร์แห่งการปริวรรต) จากการแสวงหาความอยู่รอดท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ตลอดระยะ เวลา หลายร้อยหลายพันปีที่ผ่านมาของบรรพบุรุษชาวจีน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้